แนวคิดแบบวัวสีม่วง (Purple Cow)
จากหนังสือ Seth Godin นักการตลาดชาวอเมริกันปี 2002 หลักการสำคัญของ Purple Cow คือการมุ่งหาวัวสีม่วงให้เจอ
คือต้องทำให้คนจดจำแบรนด์ได้ไม่ว่าจะมาจากการสื่อสารกับลูกค้า หรือตัวผลิตภัณฑ์
ตัวบรรจุภัณฑ์ ที่โดดเด่นสะดุดตา มีบริการที่ไม่เหมือนใครหรือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ก็ได้
กลุ่มเป้าหมายที่ Seth เน้นเป็นพิเศษคือ
ลูกค้ากลุ่ม Early Adopter ที่เป็นกลุ่มที่ชอบลองใช้สินค้าใหม่ๆ เมื่อมีการ Launch ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเป็นกลุ่มแรก
กลุ่มนี้จะสร้างการบอกต่อ คล้ายๆ อินฟลูเอนเซอร์ที่ออกมารีวิวสินค้าใหม่ให้โซเชี่ยลฟัง
พอเราสร้างสินค้าบริการ หรือแคมเปญที่โดดเด่นจดจำได้เปรียบเสมือนวัวสีม่วงขึ้นมาแล้ว เรายังต้องการตัวกลาง
ที่จะกระจายข้อมูลข่าวสาร ส่งข้อความต่างๆ ที่ Seth เรียกว่าไอเดียไวรัส (Ideavirus) ผ่านคนจาม (Sneezer)
ในลักษณะการบอกต่อจากกลุ่มเล็กไปสู่ตลาดหลัก
นั่นคือกลุ่มคนที่ Seth เรียกว่า Otaku
คำศัพท์ญี่ปุ่นที่หมายถึงคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษ ซึ่งไม่ได้จำกัดความแค่คนที่สนใจการ์ตูน อะนิเมชั่น เกมส์
และกลุ่มดาราศิลปิน จะสนใจเรื่องไหนก็ได้แบบเข้มข้นเฉพาะด้าน ก็สามารถถูกเรียกว่าโอตาคุได้เช่นกัน
กลุ่มนี้เปรียบดั่งสาวกของแบรนด์ ที่พร้อมจะทำหน้าที่เผยแพร่ความชอบของตัวเอง ที่มีต่อสินค้าส่งต่อไปยังคนอื่นๆ ได้
หลักการตลาดแบบ Purple Cow ไม่ได้จะขายสินค้าให้ทุกคน แต่จะมองหากลุ่มลูกค้าที่เหมาะเจาะกับสินค้าบริการจริงๆ
โดยประเด็นอยู่ที่การหา Unmet Need(ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ที่ยังไม่ถูกเติมเต็มทางความรู้สึก)
ยิ่งเราหา Unmet Need เจอจะช่วยให้การขายสินค้าบริการนั้นตรงเป้าถูกจุดทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้นง่ายขึ้น
และประหยัดงบในการทำการตลาดด้วย
สุดท้ายไม่ว่าวัวจะสีอะไรก็ตาม ย่อมมีอายุขัยจำกัดทั้งนั้นเพราะเมื่อไหร่ที่วัวสีม่วงตัวนั้นใช้เรียกความสนใจหากินต่อไม่
ได้แล้ว ธุรกิจของเราอาจตกหรือไปต่อไม่ได้ด้วยเช่นกันถ้าวันใดที่สีบนตัววัวเริ่มจางลง คนเริ่มไม่อยากมองมันแล้วอย่า
ไปเสียเวลาเปลี่ยนสูตรอาหาร หรืออัดอาหารเพื่อหวังให้สีกลับมาสดใสเหมือนเดิม เราแค่หาวัวสีม่วงตัวใหม่ก็เท่านั้นเอง
ต้องการปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อทีม Kenzo
Inbox : m.me/kenzokimura.co
Follow Us on Facebook :https://www.facebook.com/kenzokimura.co
อ่านเพิ่มเติม กด https://kenzo-kimura.com/